ผู้ติดตาม

วันจันทร์ที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2553

น้ำหมักชีวภาพ อีกหนึ่งความมหัศจรรย์กับการปั้นน้ำ (ยาง) ให้เป็นตัว

น้ำหมักชีวภาพ” เป็นอีกหนึ่งผลิตผลทางธรรมชาติที่เกิดขึ้นจากภูมิปัญญาท้องถิ่น ตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง อย่างไรก็ดี ปัจจุบันพบว่า น้ำหมักที่ได้จากการนำเอาพืช ผัก ผลไม้ชนิดต่างๆ มาหมักกับน้ำตาลทำให้เกิดจุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์จำนวนมาก ซึ่งน้ำหมักชีวภาพ มี 3 ประเภท คือ 1.น้ำหมักชีวภาพจากผลไม้ 2.น้ำหมักชีวภาพจากพืชผักสีเขียว 3.น้ำหมักจากพืชสมุนไพร ซึ่งในน้ำหมักชีวภาพจะประกอบด้วยกรดต่างๆ เช่น Lactic acid, Butyric acid, Propionic acid, Citric acid, Acetic acid และ Formic acid เป็นต้น ทำให้น้ำหมักชีวภาพมีประโยชน์ในการช่วยเร่งการเจริญเติบโตของพืชให้สมบูรณ์ แข็งแรงตามธรรมชาติ ต้านทานโรคและแมลง ช่วยกำจัดกลิ่นเหม็น ช่วยปรับสภาพอากาศที่เสียให้สดชื่นและมีสภาพดีขึ้น ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา น้ำหมักชีวภาพได้รับความนิยมถูกนำมาใช้ในรูปแบบที่แตกต่างกัน จุดประกายให้ “ศุภชัย นิลดำ” นักเรียนชั้น ม.6 โรงเรียนขุนหาญวิทยาสรรค์ จังหวัดศรีสะเกษ มองเห็นโอกาสในการนำน้ำหมักชีวภาพมาใช้ช่วยทำให้น้ำยางธรรมชาติมีการจับตัวที่ดีขึ้น ทดแทนการใช้สารเคมี และเป็นที่มาของโครงงานวิทยาศาสตร์เรื่อง การจับตัวน้ำยางธรรมชาติด้วยน้ำหมักชีวภาพ ที่ได้รับคัดเลือกให้เป็นตัวแทนขององค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษมานำเสนอในงาน “มหกรรมการจัดการศึกษาท้องถิ่น ประจำปี 2553” ระหว่างวันที่ 30 กรกฏาคม – 1 สิงหาค “ศุภชัย นิลดำ” บอกว่า ประเทศไทยเป็นประเทศผู้ผลิตและส่งออกยางธรรมชาติอันดับ 1 ของโลก โดยเฉพาะยางแท่งเอสทีอาร์ 20 ที่มีปริมาณการส่งออกมากที่สุด ประมาณ 80% ในกระบวนการผลิตยางแท่ง STR20 จะใช้ยางก้อนถ้วยเป็นวัตถุดิบหลัก การเตรียมยางก้อนถ้วยโดยทั่วไปจะใช้กรดฟอร์มิกในการจับตัวน้ำยางธรรมชาติ ซึ่งกรดฟอร์มิกมีราคาแพง ต้องนำเข้าจากต่างประเทศและใช้เวลาในการจับตัวนาน อาจก่อให้เกิดความเสียหายในช่วงฤดูฝน อีกทั้งยังเป็นสารพิษที่ส่งผลกระทบต่อเกษตรกรและสิ่งแวดล้อมอีกด้วย ดังนั้นหากพัฒนาน้ำหมักชีวภาพจนมีคุณภาพและนำมาใช้ทดแทนกรดฟอร์มิกในกระบวนการกระตุ้นการจับตัวกันของน้ำยางธรรมชาติได้ จะเป็นการช่วยลดต้นทุน และสร้างระบบการผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมได้ ทั้งนี้ผลจากการทดลองใช้น้ำหมักชีวภาพทดแทนกรดฟอร์มิกปรากฏว่า น้ำหมักชีวภาพที่สามารถนำมาใช้แทนกรดฟอร์มิก คือ น้ำหมักชีวภาพจากผลไม้ที่มีความเข้มข้น 1.2 และ 4.0%โดยปริมาตร และน้ำหมักชีวภาพจากพืชผักสีเขียวที่มีความเข้มข้น 1.2% โดยปริมาตร ซึ่งน้ำหมักชีวภาพทั้ง 2 ชนิด สามารถจับตัวน้ำยางธรรมชาติได้สมบูรณ์และเร็วกว่าการใช้กรดฟอร์มิกถึง 10 เท่า แม้ที่ความเข้มข้นน้อยกว่า อีกทั้งเร็วกว่าน้ำยางธรรมชาติที่เสียสภาพตามธรรมชาติถึง 360 เท่า นอกจากนี้ จากการทดสอบคุณภาพของยางก้อนถ้วยตามมาตรฐานยางแท่งพบว่า ยางที่ได้จากการจับตัวด้วยน้ำหมักชีวภาพมีปริมาณสิ่งสกปรก ปริมาณเถ้า ปริมาณไนโตรเจน และปริมาณสิ่งระเหยใกล้เคียงกับการใช้กรดฟอร์มิก แต่ความอ่อนตัวเริ่มแรก มีดัชนีความอ่อนตัวของยาง และค่าความหนืดที่ดีกว่ายางที่ได้จากการเสียสภาพตามธรรมชาติ เช่นเดียวกับการใช้กรดฟอร์มิก นอกจากนี้ การใช้น้ำหมักชีวภาพกระตุ้นการจับตัวของน้ำยางธรรมชาติเทียบกับการใช้กรดฟอร์มิก สามารถลดต้นทุนลงได้มากกว่า 50%มนี้ ที่อาคารชาเลนเจอร์ 2 อิมแพ็ค เมืองทองธานี

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น